วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

"อโหสิ"


แผ่เมตตา ให้ศัตรู ทุกผู้นาม
จักนำความ สง่างาม หน้าเลื่อมใส 
เพราะไม่มี พยาบาท สิงในใจ 
ที่รักใคร่ ของมนุษย์ แลเทวา


"กรรม" ไม่มีวันหยุด


กรรม มันติดตามเราทุกวินาที 
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 
กรรมเก่าไม่ว่ามันจะดีหรือไม่ดี 
เรากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่
กรรมใหม่ ดีหรือไม่ เรากำหนดได้ 
ด้วยการกระทำของเรานะคะ
กงล้อแห่งกรรม เค้าทำงานทุกวัน 
ไม่หยุดวันเสาร์ อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ 
นะ จะบอกให้

"บุญ"


"ข้าวใครกิน ใครอิ่ม" "บุญ" ผู้ใดทำ ผู้นั้นได้" 
ธรรมะดีๆ เราได้ฟัง เราอาจจะเข้าใจ 
แต่ถ้าเราไม่ได้ปฏิบัติตาม 
เราจะไม่มีโอกาสเข้าถึงธรรมนั้นๆ 
ธรรมะเปรียบเหมือนการกินข้าว 
คนอื่นกินเขาก็อิ่มเข้าก็อร่อยเขามาเล่าให้เราฟัง 
ว่ามันอร่อยอย่างนั้น อร่อยอย่างนี้ 
เราได้แต่ฟัง รู้ว่ามันหวาน มันอร่อย 
แต่ถ้าเราไม่ได้กิน เราจะไม่มีโอกาสได้สัมผัสเลยว่า ที่ว่าอร่อยมันอร่อยแค่ไหน 
ทำบุญก็เหมือนเขากินข้าว เขาทำ เขากิน เราจะอิ่มได้ยังไง จริงมั้ย


"ยถากรรม"


เรื่องของกฏแห่งกรรมในพระพุทธศาสนานั้นมิใช่สอนให้ปล่อยไปตาม ยถากรรม

1. ในยุคพุทธกาล พระสารีบุตร ในครั้งพุทธกาล พระสารีบุตรได้เล็งเห็นว่า เณรบวชใหม่คนหนึ่งจะ มรณะในอีก 7 วัน ท่านจึงอนุญาตให้เณรกลับไปเยี่ยมบ้าน เพื่อโปรด บิดามารดาและญาติโยมทางบ้านเป็นครั้งสุดท้าย

เมื่อผ่านไปเจ็ดวัน เณรได้กลับมายังวัดเหมือนเดิม พระสารีบุตรแปลก ใจว่าเพราะเหตุใดเณรไม่ตาย ท่านจึงได้สอบถามเณร เณรได้เล่าว่า ระหว่างทางที่ไปได้พบปลาจำนวนหนึ่งในหนองน้ำที่ใกล้แห้งจึงได้ช้อน ปลาไป ปล่อยในแหล่งน้ำที่ใกล้ๆ

ด้วยญาณแห่งพระสารีบุตรจึงทราบได้ว่า ปลาเหล่านั้น คืออดีตเจ้า กรรมนายเวรของเณร และเมื่อเณรได้นำปลาไปปล่อยให้รอดชีวิต เท่ากับว่าได้ทำบุญต่ออายุให้กับตัวเอง เจ้ากรรมนายเวรนั้นได้ อโหสิกรรม 


"ละทิ้ง"


นิสัยที่ต้องละทิ้ง 
1. เลิกสอดรู้ สอดเห็นเรื่องคนอื่น 
2. เลิกผูกใจเจ็บแค้นอาฆาต 
3. เลิกปัดความผิดให้พ้นตัว 
4. เลิกจุกจิกจู้จี้ขี้บ่น 
5. เลิกอิจฉาริษยา


"ธรรมะ" แท้ๆ


ผู้รู้จริงจะไม่พูด ของจริงนั้นเป็นใบ้ 
ธรรมะแท้นั้นมีคุณค่าในตัวเอง 
ไม่จำเป็นต้องออกไปคุยโวโม้แล้วจึงมีค่า 
ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่น มาให้รางวัลแล้วจึงมีค่า 
ทองแท้ไม่ต้องการคำชม


"ชีวิต"


ในบางครั้งที่ชีวิต"ตกต่ำ" อย่ายอมเป็นก้อนหิน"ตกน้ำ"

แต่จะเป็นตะวัน"ตกดิน"ที่สิ้นแสง 

เพื่อรอที่จะขึ้นฉายในอีกฟากฟ้าหนึ่งของพรุ่งนี้


"มุมมอง"


คนมองโลกแง่ร้าย คือ ผู้ที่เห็นความยุ่งยากในทุกโอกาส 

ขณะที่คนมองโลกในแง่ดี จะเห็นโอกาสในทุกความยุ่งยาก

"โลกคือมายา"


โลกคือมายา ตัณหาล้วนแสงสี 
หลงอวดตัวมั่งมี ล้วนเอาดีมาอวดกัน 
แท้จริงมันแค่เปลือก ที่ต้องเลือกแก่นกระพี้ 
หาใช่แค่ผักชี หรือแสงสีที่งดงาม


"ความเมตตา"



เมตตานั้นนำมาซึ่งความสุข

สุขทั้งเราสุขทั้งเขา โทสะนั้นนำมาซึ่งทุกข์

ทุกข์ทั้งเราทุกข์เขา ทำอะไรออกไป

ตัวเองคือผู้รับ ให้อะไรออกไปคืนมาทั้งสิ้น

เกื้อกูลผู้อื่นคือ เกื้อกูลตนเอง

ทำร้ายผู้อื่นคือ ทำร้ายตนเอง

โลกนี้คือกระจกเงาบานใหญ่

ทำอะไรออกไปจะสะท้อนกลับมาให้ผู้ทำฯ