คำคม ธรรมะ


"มะระณันตัง หิ ชีวิตัง"

เกิดแล้วมีหวัง ไม่ฝังก็เผา

จริงแท้ที่สุด มนุษย์อย่างเรา

เกิดเปล่าตายเปล่า นอนเหงาในเมรุ
   




ศิษย์เอ๋ย เจ้ารู้หรือไม่ว่า ก่อนรับวิถีธรรมกับหลังรับวิถีธรรมนั้นแตกต่างกันอย่างไร

ควรรู้ว่า...

ก่อนรับวิถีธรรม ฟ้ากำหนดคน
หลังรับวิถีธรรม คนกำหนดฟ้า

เหตุเพราะว่า ... ก่อนรับวิถีธรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวอันใด ต้องดำเนินไปตามสภาพแวดล้อม ล้วนไม่พ้นไปจากเรื่องของกุศลและอกุศล เรื่องของกงกรรมกงเกวียน เหล่านี้คือฟ้ากำหนดคนให้เป็นไปตามธรรมชาติ

แต่หลังจากรับวิถีธรรมแล้ว สามารถแยกแยะผิดชอบชั่วดี รู้ว่าสิ่งใดควรทำไม่ควรทำ รู้ว่าสิ่งใดดีเป็นกุศล ก็กล้าหาญที่จะไปกระทำ และสามารถที่จะหลบหลีกจากสิ่งที่จะนำมาซึ่งภัย หันหน้าเข้าหาสิ่งที่จะนำมาซึ่งโชควาสนา ละซึ่งอกุศลสร้างสวรรค์ความดี

เช่นนี้ก็จะสามารถเปลี่นรแปลงสถาพแวดล้อมได้เอง เพื่อที่จะบรรลุถึงการบำเพ็ญขั้นสูงสุด ดังคำกล่าวที่ว่าต้นเหตุผลกรรมที่เป็นนามธรรม เหนือกว่าวัตถุรูปธรรมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น

ต้นเหตุผลกรรมคืออะไร

ต้นเหตุ คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวต่างๆทั้งเลวและดีผลกรรม คือผลกรรมสนองของเรื่องราวต่างๆที่จบลง แบ่งออกเป็น

...ผลกรรมสนองแบบเร็ว (ปรากฏ) นี่คือการสนองในชาตินี้
...ผลกรรมสนองแบบช้า (แฝง)ทำกรรมในชาตินี้จะไปสนองในชาติหน้า

หากจะเปรียบถึงการหว่านเมล็ดพืช จำพวกเมล็ดข้าว เมล็ดถั่ว ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ แต่ถ้าเป็นเมล็ดขององุ่น แอปเปิ้ล จะต้องใช้เวลาเป็นปีจึงจะเห็นผล เพราะฉะนั้นปลูกถั่วได้ถั่ว ปลูกแตงได้แตง ปลูกอะไรก็จะได้ผลดังนั้น ต่างกันเพียงช้าเร็ว ถ้าหากว่าชีวิตมนุษย์ ครึ่งชีวิตแรกสร้างแต่อกุศลกรรม แล้วครึ่งชีวิตหลังของคนคนนั้นจะต้องได้รับผลของกรรมชั่ว ใช่หรือไม่ (ใช่)

ปลูกเหตุแห่งกรรมชั่ว กรรมชั่วก็จะสนองตอบ
ปลูกเหตุแห่งกรรมดี จะได้รับซึ่งกรรมดีแน่นอน

เพราะฉะนั้น หลังจากที่ได้รับวิถีธรรมแล้วก็เปรียบเสมือนกับกำลังเดินบนเส้นทางชีวิตครึ่งหลัง จึงต้องละซึ่งอกุศลกรรม 10 หมั่นสร้างกุศลกรรม 10 ถือศีล 5 และคุณธรรม 5 เหล่านี้ ถึงจะเรียกว่า "สร้างกรรมดีละเว้นชั่ว" เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วิถีแห่งการบำเพ็ญ (เปรียบดั่งจุดหักเห)

เวไนยไม่เข้าใจถึงเหตุผลข้อนี้ จึงทำให้เกิดความคิดวิตกกังวล มีอารมณ์โทสะง่าย และเป็นผลนำมาซึ่งโรคภัยต่างๆ

...การกระทำในทางมิชอบ จะนำมาซึ่งผลคือ การติดคุกติดตะราง
...การทำประโยชน์แก่ตน แต่เป็นการทำร้ายผู้อื่นให้ต้องเสื่อมเสีย ผลจะนำมาซึ่งบาปและความผิด
...รัก โลภ โกรธ หลง จะนำมาซึ่งผลแห่งการเวียนว่ายตายเกิด

จะเป็นพระพุทธะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่จะต้องหมั่นสร้างความดี ละเว้นซึ่งบาปกรรม องค์เทพเทวามีอิทธิฤทธิ์ได้ เพราะท่านมีแต่ความปิติยินดี ไม่มีความทุกข์วิตกกังวล พระพุทธะล้วนแล้วแต่สร้างประโยชน์ ให้เกิดแก่ตนเองและผู้อื่น

...ผู้ที่ร่ำรวยสร้างคุณธรรมด้วยการบริจาคทาน
...ผู้ที่ยากจนสร้างความสูงส่งด้วยการสำรวมธรรม
...ความร่ำรวยสูงส่ง อยู่ที่การสร้างสมความดี
...โชคลาภวาสนา อยู่ที่การหล่อเลี้ยงคุณธรรม

การเห็นความทุกข์ของผู้อื่นแล้วเป็นทุกข์ ควรให้การช่วยเหลือ
การเห็นความสุขของผู้อื่นแล้วเป็นสุข ควรให้การสนับสนุน

พวกเจ้าทั้งหลายคิดอยากที่จะมีความมั่งมีศรีสุขและโชคลาภหรือไม่ (คิด) ในเมื่อพวกเจ้าอยากที่จะได้ความมั่งมีศรีสุข อีกทั้งโชคลาภวาสนา อาจารย์จะถ่ายทอดเคล็ดลับให้พวกเจ้า ดีไหม (ดี)

ปราชญ์เม่งจื้อกล่าวว่า:

ฟ้ามีบรรดาศักดิ์แห่งฟ้า
มนุษย์มีบรรดาศักดิ์ของมนุษย์

การมีคุณธรรม ความเมตตา ความจงรักภักดี มีสัจจะและสร้างกุศลโดยไม่เบื่อหน่าย
นั่นคือ บรรดาศักดิ์แห่งฟ้า

ส่วนบรรดาศักดิ์มนุษย์ เช่นการดำรงตำแหน่งเสนาหรือขุนนางทั้งหลาย ผู้ใดดำเนินตามบรรดาศักดิ์แห่งฟ้าได้ บรรดาศักดิ์แห่งมนุษย์ก็จะตามมาเอง

แต่บัดนี้ มนุษย์จะดำเนินตามบรรดาศักดิ์แห่งฟ้าก็ต่อเมื่อจะได้มาซึ่งบรรดาศักดิ์แห่งมนุษย์ และเมื่อได้มาซึ่งบรรดาศักดิ์นั้นแล้ว ก็ละทิ้งซึ่งบรรดาศักดิ์แห่งฟ้าไป อยากจะได้มาซึ่งโชคลาภวาสนา ก็จะต้องละซึ่งกรรมปาก การละซึ่งกรรมปากคือ ขั้นตอนแรกของการบำเพ็ญธรรม

วันนี้พวกเจ้าต่างได้รับวิถีธรรม เมื่อรับวิถีธรรมแล้วก็ควรจะบำเพ็ญธรรม การบำเพ็ญธรรมมี 7 ขั้นตอน.. 7 ขั้นตอนของการบำเพ็ญธรรมคือ ละกรรมปาก โปรดคน เป็นนักบรรยายธรรม ตั้งสถานธรรม บุกเบิกธรรม เป็นพุทธบริกร บริจาคทานทั้ง 3

7 ขั้นตอนนี้เป็นทางที่เร็วที่สุดแห่งการสำเร็จเป็นพระพุทธะและสร้างสมบุญกุศล

1. ละกรรมปาก

ก่อนอื่น จะพูดถึงการละกรรมปาก มีบางคนพูดว่า
"มีจิตใจดีก็พอแล้ว ไฉนจะต้องกินเจอีกเล่า!"
แท้จริงแล้วการกินเจ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าจะมีจิตใจดีหรือไม่ แต่อยู่ที่การหลุดพ้นออกจากต้นเหตุผลกรรม การมีสุขภาพพลานามัยที่ดี และเป็นขั้นตอนแห่งการสำเร็จเป็นพระพุทธะ

....สิ่งที่สกปรกที่สุดในโลกนี้ คือ การเบียดเบียนเลือดเนื้อผู้อื่น
...สิ่งที่โหดร้ายที่สุด คือ การเช่นฆ่าชีวิต
...การมีโชคลาภนั้น เกิดจากการถือศีลกินเจบริจาคทาน
...การมีซึ่งอายุยืนยาว เกิดจากการไม่เข่นฆ่าเอาชีวิตและปล่อยสัตว์
...การมีสติปัญญา เกิดจากการเรียนมาก ฟังมาก
...การมีชีวิตอันสงบ เกิดจากการสำรวม ไม่ยุ่งเรื่องนินทาว่าร้าย

เพราะฉะนั้น การกินเจหรือกินเนื้อนั้น ก็ล้วนมาจากปากอันเดียวกัน จะผลักคนหรือช่วยคนก็อยู่ที่มือเดียวกัน

...สัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารนั้นมักจะดุร้าย
...ส่วนสัตว์ที่กินพืชนั้นจะอ่อนโยน

ผักจำพวกต่างๆ สามารถรับประทานเป็นยารักษาร่างกายได้
...ทางด้านร่างกายสามารถป้องกันโรคภัย
...ส่วนทางด้านจิตใจสามารถขจัดโรคภัย
และทางซีกโลกตะวันตก การทานมังสวิรัติได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในประเทศญี่ปุ่นจัดว่าเป็นอาหารแห่งความมานะพากเพียร เพราะฉะนั้น การกินเจจึงไม่จัดว่า ล้าสมัย

2. โปรดคน

การโปรดคน คือ การใกล้ชิดประชา เป็นจริยวัตรของอริยะเมธี เป็นจิตใจของพระโพธิสัตว์
ดั่งคำกล่าวที่ว่า:
...แม้นอยู่ในสภาวะการณ์ลุ่มดอนก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ นั่นคือพระโพธิสัตว์เดินดิน ผู้ที่สามารถพ้นจากกรงขังอันแน่นหนานี้ได้ คือ ผู้กล้า
...การโปรดคนนั้นเป็นเรื่องที่ผู้บำเพ็ญธรรมทุกคนต้องกระทำ
...การโปรดคนคือ การช่วยชีวิตคนที่ติดอยู่ในทะเลทุกข์ เป็นขั้นตอนของการลุล่วงปณิธาน
...การโปรดคนหนึ่งคนจะมีบุญกุศล 3 ส่วน

3. นักบรรยายธรรม

การศึกษาสัจธรรมคือ ความหวังอันสูงส่งของมนุษย์
การประกาศสัจธรรม คือ หน้าที่อันสูงส่งของมนุษย์
เพราะฉะนั้น นักบรรยายธรรม เป็นผู้ประกาศสัจธรรม ให้การประคับประคองเหล่าเวไนย
...เป็นดั่งฑูตสวรรค์
...เป็นดั่งบ่อน้ำในทะเลทราย
...เป็นดั่งเข็มทิศของผู้หลงทาง
...เป็นดั่งพ่อครัวผู้ชำนาญการ

ปนะโยชน์ของการเป็นนักบรรยายธรรม คือ
...สามารถพัฒนานิสัย
...พัฒนาบุคลิกภาพ
...ฝึกฝนการพูด
...ทำประโยชน์แก่เวไนย
...ช่วยเหลือผู้อื่นจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน
...เปลี่ยนอกุศลวาจา เป็นกุศลวาจาแทน

4. จัดตั้งพุทธสถาน

...พุทธสถานเป็นสถานที่ที่ให้คำชี้แนะของฟ้าเบื้องบน
...เป็นสถานที่จัดการเรื่องราวต่างๆของ 3 ภพ
...เป็นสถานที่เปลี่ยนแปลงตน ฝึกฝนเป็นพุทธะ
...เป็นสถานที่ฝึกฝนของการสำเร็จธรรม
...เป็นเสมือนปั๊มน้ำมันบุญกุศลของแดนวิสุทธิเกษตร
...เป็นดั่งสถานช่วยเหลือจิตวิญญาณของเหล่าเวไนย
...เป็นมหาวิทยาลัยของการฝึกฝนคุณธรรม
...เป็นมงคลสถาน ที่จะพ้นจากเภทภัย
...เป็นที่ที่พุทธะเทวาชื่นชมยินดี
...เป็นที่อันสงบที่จะละทิ้งความคิดฟุ้งซ่าน

5. บุกเบิกธรรม
...การบุกเบิกธรรมเสมือนดั่งฑูตสวรรค์
...ดั่งชาวนาผู้หว่านเมล็ดพันธุ์
...ดั่งแพทย์ผู้เมตตาช่วยเหลือคนยากไร้ในแหล่งกันดาร
...ดั่งชาวนาที่ดี ช่วยเปลี่ยนที่รกร้างให้เป็นผืนนาอันอุดม
...เป็นกัลยาณชนผู้มีอุดมการณ์ ประกาศเสียงธรรมไปทั่วทุกแห่งหน

ใน 7 ขั้นตอนของการบำเพ็ญธรรม บุญกุศลแห่งการบุกเบิกธรรมยิ่งใหญ่ที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องที่สูงส่งที่สุด เพราะสิ่งที่มีค่าที่สุดนั้น คือสิ่งที่ทำได้ยาก

6. เป็นพุทธบริกร

เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายที่สุดในขั้นตอนการบำเพ็ญธรรม 7 อย่าง การบริการเวไนยนั้นถือเป็นงานที่สง่าผ่าเผย และมีคุณธรรมที่สุด
สัจธรรมนั้นล้ำค่าที่สุด การบริการนับเป็นความโชคดี

7. บริจาคทานทั้ง 3

ทานทั้ง 3 คือ
...ทรัพย์เป็นทาน
...วิทยาธรรมเป็นทาน
...แรงกายเป็นทาน
ล้วนคือการบริจาคทาน ธรรมทานคือการเป็นนักบรรยายธรรม อภัยทาน คือ บุกเบิกธรรม โปรดคน ที่เหลือคือการให้ทรัพย์เป็นทาน

จุดมุ่งหมายในภายภาคหน้า
...ตั้งแต่นี้ต่อไปจะไม่ยกยอตัวเอง (คือกรุณา)
...ไม่หลอกลวงตัวเอง (คือสติปัญญา)
...ไม่ให้อภัยตนเองเสมอ (คือความกล้าหาญ)

     ฝีหนองที่เป็นเนื้อเน่าต้องตัดทิ้ง ถึงจะสร้างเนื้อใหม่ขึ้นได้นิสัยที่ไม่ดีจึงต้องขจัดทิ้งไป อิริยาบทที่ดีจึงปรากฏออกมาได้กล้าหาญเผชิญต่ออุปสรรค จึงจะสามารถเรียนรู้เทคนิควิธีผ่านการทดสอบได้
ก็จะสามารถแบกรับภาระอันยิ่งใหญ่ นับเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นได้ศึกษา






"แก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝน  ต่อให้ฝนตกหนักทั้งคืน

 ก็ไม่อาจเต้มไปด้วยน้ำ คนที่ไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ 

ต่อให้คลุกคลีอยู่กับนักปราชญ์ทั้งคืนทั้งวัน ก็ยังโง่เท่าเดิม"









สังขาร ไม่เที่ยง

อนิจจัง วัฏสังขารา  พระท่านสอน เป็นนิวรณ์แด่ชนคนรุ่นหลัง

อันใดใดในโลก ล้วนอนิจจัง ต้องผุพังเสื่อมสลายไปตามกาล

เมื่อเกิดมาแล้วก็แก่ล้วนแปรเปลี่ยน เจ็บตายเวียนในวัฏสงสาร

ไม่ยืนยงคงตัวอยู่ชั่วกาล พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติเป็นสัจจะธรรม

จะรวยล้นจนยากหรือมากยศ เหมือนกันหมดเมื่อตายให้นึกขำ

นอนในโลงวางบนเมรุตามเวรกรรม พุทธธรรมน้อมนำจิตชีวิตคน

นำสมบัติใส่โลงไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล

ทิ้งสมบัติทั้งหลายให้ปวงชน แม้ร่างตนเขายังเอาไปเผาไฟ

จงสดับปรับเปลี่ยนเพียรพ้นทุกข์ หาความสุขที่ไม่มีที่ไหนไหน

หมั่นทำบุญเพื่อเป็นเทียนนำส่องใจ ลดละเลิกอบายใจสุขเอย







ไม่ว่าจะมีวิกฤษหรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นกับเรา

สิ่งที่สำคัญในชีวิตคือ รักษาใจของเราให้ดี 

ให้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นคุณธรรมประจำใจของเรา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น